ประเพณีตานก๋วยสลาก
![]() |
http://f.ptcdn.info/420/023/000/1410697214-21-o.jpg |
ประเพณีทานสลาก คือ การทำบุญสลากภัตในล้านนาไทย
มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น บางแห่งเรียกว่า "กิ๋นก๋วยสลาก"
บางแห่งเรียก "กิ๋นสลาก" บางแห่ง "ตานก๋วยสลาก"
ตามสำเนียงพูดของเมืองเหนือ ในความหมายเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาถือสืบเนื่องมานมนานแล้ว การทานก๋วยสลากจะเริ่มในราวเดือน 12 เหนือน่าน (คือเดือน 10
ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11 ใต้ ) ในสมัยโบราณประเพณีการถวายสลากภัต
จึงต้องจัดขึ้นที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารอันเป็นปฐมอารามในจังหวัดน่านก่อนเป็นวัดแรก
แล้ววัดอื่นๆจึงจะจัดวายทานได้ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่
จะเริ่มทำที่วัดเชียงมั่น ในจังหวัดลำปาง จะเริ่มทำที่ วัดปงยากคก
ค่านิยมในการกินสลากของชาวล้านนา
http://123.242.165.136/photo_gallery/00177.JPG |
การทำบุญสลาภัต นับเป็นประเพณีที่สำคัญของล้านนาไทยประการหนึ่ง เนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จนกลายเป็นประเพณีสืบมาช้านาน คือ
1. ประชาชนว่างจากภาระกิจทำนา
2. ผลไม้ส้ม เช่น ส้ม ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยงฯลฯ กำลังสุก
3. ประชาชนหยุดพัก ไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน
4. พระสงฆ์จำพรรษาอยู่อย่างพรักพร้อม
5. ได้โอกาสสงเคราะห์คนเป็นสังคหทาน
6. ถือว่ามีอานิสงส์แรง คนทำบุญสลากมันจะมีโชคลอยมา
7. มีโอกาสหาเงินและวัสดุบำรุงวัด
การทานสลากภัต "ตานก๋วยสลาก"
ประเพณีถวายสลากภัต หรือประเพณีถวายข้าวสลาก หรือ ตานก๋วยสลาก ของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน จะมีขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ หรือ เดือน 10 ใต้ของทุกๆ ปี เป็นประเพณีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เจ้านครน่านเป็นผู้จัดนำ จะมีศรัทธาประชาชนในบ้านต่างๆ จัดทำสลากภัต และจัดขบวนแห่มาร่วมเป็นกลุ่มเป็นคณะ ชาวบ้านจะนำพืชผลมาถวายก๋วยสลาก นิมนต์พระสงฆ์แต่ละวัดในเขตอำเภอเมืองมารับไทยทานสลากภัต ปีหนึ่งๆ จะมีพระสงฆ์มารับไทยทานประมาณ 200-300 รูป ซึ่งศรัทธาประชาชนร่วมกันถวายสลากภัต สลากภัตนั้น มีหลายชนิด ทางภาคเหนือประกอบด้วย
1. สลากน้อย หรือ สลากซอง คือ สลากกระชุเล็ก (ก๋วยขี้ปุ๋ม เพราะมีลักษณะป๋องเหมือนขึ้ปุ๋ม หรือท้องนั่นเอง)
2. สลากใหญ่ หรือ สลากโชค หรือ สลากสร้อย บางทีเจ้าภาพทำเป็นรูปต่างๆ เช่น ต้นกัลปพฤกษ์ รูปบ้านเรือน รูปเรือ หงส์ เรือสำเภา ไทยทานจะมีครบทุกอย่าง
สลากก๋วยเล็กใช้ถวายอุทิศแก่ ผู้ตายหรือทำบุญเพื่อเป็นกุศลในชาติหน้า ส่วนสลากใหญ่ใช้ถวายเป็นกุศลสำหรับผู้มีกำลังศรัทธาและร่ำรวยเงินทอง ทำถวายเพื่อเป็นนพลวะปัจจัย ให้มีบุญกุลมากยิ่งขึ้น
ประเพณีถวายสลากภัต หรือประเพณีถวายข้าวสลาก หรือ ตานก๋วยสลาก ของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน จะมีขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ หรือ เดือน 10 ใต้ของทุกๆ ปี เป็นประเพณีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เจ้านครน่านเป็นผู้จัดนำ จะมีศรัทธาประชาชนในบ้านต่างๆ จัดทำสลากภัต และจัดขบวนแห่มาร่วมเป็นกลุ่มเป็นคณะ ชาวบ้านจะนำพืชผลมาถวายก๋วยสลาก นิมนต์พระสงฆ์แต่ละวัดในเขตอำเภอเมืองมารับไทยทานสลากภัต ปีหนึ่งๆ จะมีพระสงฆ์มารับไทยทานประมาณ 200-300 รูป ซึ่งศรัทธาประชาชนร่วมกันถวายสลากภัต สลากภัตนั้น มีหลายชนิด ทางภาคเหนือประกอบด้วย
1. สลากน้อย หรือ สลากซอง คือ สลากกระชุเล็ก (ก๋วยขี้ปุ๋ม เพราะมีลักษณะป๋องเหมือนขึ้ปุ๋ม หรือท้องนั่นเอง)
2. สลากใหญ่ หรือ สลากโชค หรือ สลากสร้อย บางทีเจ้าภาพทำเป็นรูปต่างๆ เช่น ต้นกัลปพฤกษ์ รูปบ้านเรือน รูปเรือ หงส์ เรือสำเภา ไทยทานจะมีครบทุกอย่าง
สลากก๋วยเล็กใช้ถวายอุทิศแก่ ผู้ตายหรือทำบุญเพื่อเป็นกุศลในชาติหน้า ส่วนสลากใหญ่ใช้ถวายเป็นกุศลสำหรับผู้มีกำลังศรัทธาและร่ำรวยเงินทอง ทำถวายเพื่อเป็นนพลวะปัจจัย ให้มีบุญกุลมากยิ่งขึ้น
http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2010-09/292b73d79ad3bdcca6661615023ebd11.JPG |
ประเพณีการแข่งเรือยาวของเมืองน่าน
![]() |
http://www.sadoodta.com/files/nan002.jpeg |
ประเพณีการแข่งเรือยาวของเมืองน่าน เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบเนื่องกันมาแต่โบราณกาล
การจัดแข่งจะจัดกันเองในหน้าน้ำ ในเทศกาลตานก๋วยสลาก
(สลากภัต)แต่ละวัดก็จะนำเรือของตนเข้าแข่งเพื่อเป็นการสมานสามัคคีกัน เอกลักษณ์ของเรือเมืองน่าน
ไม่เหมือนจังหวัดใดในประเทศไทยคือ เป็นเรือที่ขุดจากไม้ตะเคียนหรือตะเคียนทองทั้งต้น
โดยเชื่อกันว่า มีความทนทานและผีนางไม้แรง ก่อนจะถึงเวลาแข่งเรือ
เรือแข่งแต่ละลำจะแล่นเลาะขึ้นล่องอยู่กลางลำน้ำเพื่ออวดฝีพายและความสวยงามให้ประชาชนได้เห็นเสียก่อน
ในเรือแข่งจะมีฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ ตีกันเป็นจังหวะดังไปทั่วท้องน้ำน่าน เป็นที่สนุกสนานและน่าดูยิ่งนัก
สถานที่สำหรับทำการแข่งขันเรือ ก็ใช้ลำน้ำน่าน หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเป็นสนามแข่งขันปัจจุบัน
การแข่งเรือเมืองน่าน ได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมบ่งบอกถึงประเพณีของท้องถิ่น
ความสามัคคี ศิลปะ สุขภาพอนามัยของชาวบ้าน หากหมู่บ้านใด มีชาวบ้านร่างกายแข็งแรง
เรือของหมู่บ้านนั้นก็มักจะชนะ หากหมู่บ้านใดมีผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีศิลปะ
เรือของหมู่บ้านนั้นก็จะชนะประเภทสวยงามเช่นกัน
การแข่งขันไม่ได้เน้นหนักในด้านการแพ้หรือชนะ
แต่เน้นด้านความสนุกสนานและความสามัคคีเป็นหลัก เมื่อมีการแข่งขันกันอย่าง กว้างขวางหลายสนามแข่งขันซึ่งประพฤติปฏิบัติเป็นประจำทุกปีมาโดยตลอด
จึงทำให้พฤติกรรมเหล่านี้กลายมาเป็นประเพณีการแข่งขันเรือของจังหวัดน่านในปัจจุบัน
เพราะตราบจนกระทั่งวันนี้ คนเมืองน่านทุกคน นับแต่ลูกเด็กเล็กแดง
จนกระทั่งหนุ่มสาว แก่ชรา ต่างก็ทราบกันดีแล้วว่า ในการแข่งเรือ
ใครจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะไม่สำคัญ เพราะผู้ชนะที่แท้จริง ของงานนี้ก็คือ
ชาวเมืองน่านนั่นเอง
ที่สามารถสืบทอดงานประเพณีอันสวยงามและยิ่งใหญ่ของตนไว้ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
![]() |
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=3735373 |
อ้างอิง https://sites.google.com/site/anongnartjan/home/5-prapheni-wathnthrrm-kickrrm-khxng-canghwad-nan
ประเพณีงานเทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่าน

https://sites.google.com/a/srinan.ac.th/nan-n-sit/_/rsrc/1437074712418/prapheni/20110103012934.JPG
จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี
บางปีอาจจัดร่วมกับเทศกาลของดีเมืองน่าน
ส้มสีทองเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน
พันธุ์เดียวกับส้มเขียวหวาน แต่ส้มสีทองจะมีเปลือกสีเหลืองทองสวยงาม
และรสชาติหวานหอมอร่อยกว่า เป็นเพราะอิทธิพลของดินฟ้าอากาศคือ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนต่างกัน
๘ องศา เป็นเหตุให้สาร “คาร์ทีนอยพิคเมนท์”
ในเปลือกส้มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองดังกล่าว กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง
ได้แก่ การประกวดขบวนรถส้มสีทอง การออกร้านนิทรรศการ
การจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมจากอำเภอต่าง ๆ และจากเมืองฮ่อน-หงสา สปป.ลาว
การแสดงพื้นเมืองและมหรสพต่าง ๆ อีกมากมาย
ประเพณีจิบอกไฟ (จุดบ้องไฟ)
การจุดบอกไฟ หรือ บ้องไฟ
จะจุดเพื่อเป็นพุทธบูชาถวายกับพระธาตุ วัดที่สำคัญและช่วงเทศกาลปีใหม่เมือง
และจุดเพื่อชิงรางวัลตามความสามารถของคนทำบอกไฟในการจุด
บอกไฟ หรือ บ้องไฟ เมืองน่านมีอยู่ 2 แบบคือจุดเพื่อความสวยงาม
เรยกว่า บอกไฟดอกหรือบอกไฟขวี่ จุดเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น เพื่อแสงอันสวยงาม
บอกไฟขึ้น จะจุดในที่โล่งแจ้ง ไม่เป็นอันตรายกับผู้ชม
ก่อนจะนำไปจุดจะต้องแจ้งต่อคณะกรรมการเพื่อเอาลำดับที่จะจุดและมีชื่อเรียก ว่า
“วาร” พร้อมมีขบวนแห่บอกไฟและคำฮ่ำบอกไฟและพรรณาถึงความเป็นเลิศของบอกไฟ
ของคณะศรัทธาบ้านตัวเองและสล่า (ช่าง) ผู้เป็นคนทำบอกไฟ แต่ถ้าหากบอกไฟไม่ขึ้น
เช่น เกิดแตกหรือไม่ยอมพุ่งขึ้น สล่าคนนั้นโดนทั้งผงหมิ่นหม้อ
ผงถ่านสีดำก้นหม้อแกงหรือขี้เปอะ (โคลน) จากกลางทุ่งนาละเลงไปที่ใบหน้าเรียกว่า
“ลุบหมิ่น”
![]() |
http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/Travel_Am/BunbungFai/44.jpg |
ประเพณีดาปอยงานบวช
![]() |
http://www.montharnthamresort-ruknailuang.com/images/column_1361343406/1363317902montharnthamresort-ruknailuangcom1.jpg |
ประเพณีดาปอยงานบวช เมืองน่าน เป็นเมืองพุทธศาสนา
ผู้คนมีความศรัทธาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาอย่างช้านานพร้อมส่งเสริมสนับสนุนถือเป็นธรรมเนียมว่าชายใด
หรือกุลบุตรจะต้องได้บวชเรียนเพื่อซาบซึ้งรสพระธรรม และตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ต้องการบวชเรียนในบวรพระพุทธศาสนามักนิยมบวชกันเป็นละแวกหมู่บ้าน
คือบวชวันเดียวกันทีละหลายๆ รูป เรียกว่า "ดาปอย"
คือจะทำกันที่วัดก็ได้หรือจะจัดเตรียมบ้านของใคร หรือผู้ที่อุมภัมภ์ในการบวชเรียน
เรียกว่า "พ่อออก แม่ออก" งานบวชเมืองน่านมี 2 อย่างคือ
1.ลูกแก้ว คือ การบรรพชา ไม่นิยมทำกันอย่างเอิกเกริก
ทำกันในเฉพาะญาติพี่น้อง เรียกว่า "ปอยหมก" กล่าวคือโกนหัวเข้าวัด
2.เป๊ก คือการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
มีการจัดเตรียมงานและผู้ที่จะบวชจะต้องท่องฝึกคำของบรรพชาอุปสมบทให้คล่องแคล่วชัดเจน
ญาติพี่น้องต้องจัดเตรียมสิ่งของข้าวปลาอาหารไว้ต้อนรับแขกญาติมิตรก่อนที่จะมีงานบวช
ญาติ ๆ หรือผู้คุ้นเคยจะนำพานใส่ผ้าไตร
พร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปบอกญาติสนิทและเพื่อนบ้านให้รับรู้ ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า
"การไปแผ่ผ้าหน้าบุญ"
ถ้าหากผู้ที่ไปร่วมงานไม่ได้ไปในวันงานก็จะร่วมทำบุญไปด้วยกับการที่ไปแผ่ผ้าหน้าบุญแล้วอธิษฐานยกมือขึ้นไว้บนศีรษะคือการ
"เจาะใส่หัว" ระเพณีดาปอยจะมีอยู่ด้วยกัน 2-3 วัน
คือ วันแรกเรียกว่า "วันฮอมครัว" หรือ สีเทียน วันลองหม้อขนมปาด
พออีกวันก็คือ "วันห้างดา" มีการโกนผมนาค
ญาติมิตรมาร่วมทำบุญพระนาคจะให้พรกับแขกหรือผู้มาร่วมงาน มีการเตรียมจัดของถวายพระ
การประดิษฐ์เครื่องบูชาพระพุทธ เช่น ต้นดอก ไทยาน
งานปอยมีการเตรียมบายศรีสู่ขวัญนาคเพื่อขัดเกลาให้ผู้บวชทราบพระคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิดและสั่งสอนในการปฏิบัติวัตรของการเข้าไปเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
วันบวชหรือวันประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบท จะกำหนดเมื่อไหร่ก็ได้ คือ ตอนเช้าตรู่ หรือ
เวลา 10.00น.ก็ได้ หรือเวลาบ่าย เย็นได้หมดแล้วแต่จะกำหนด
โดยญาติมิตรอยู่ร่วมงานเพื่อแห่ลูกแก้วหรือแห่นาคเข้าวัดเพื่อประกอบพิธี
อ้างอิง https://sites.google.com/site/anongnartjan/home/5-prapheni-wathnthrrm-kickrrm-khxng-canghwad-nan