บ่อเกลือสินเธาว์
บ่อเกลือภูเขา
บ่อเกลือ ตั้งอยู่ในอำเภอบ่อเกลือ
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน เดิมเรียกว่า "เมืองบ่อ"
ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีบ่อเกลือสินเธาว์ ที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเดิมมีอยู่ในจำนวน 7
บ่อ คือ บ่อหลวง บ่อหยวก บ่อเวร บ่อน่าน บ่อกิน บ่อแคะ และบ่อเจ้า
บ่อเกลือมีอยู่สองบ่อ คือ บ่อเกลือเหนือ และ
บ่อเกลือใต้ โดยบ่อเกลือเหนือมีขนาดใหญ่ มีโรงต้มเกลืออยู่หลายโรง ส่วนบ่อเกลือใต้
มีโรงต้มเกลือน้อยกว่า
ทั้งสองบ่อชาวบ้านยังใช้วิธีการต้มเกลือแบบโบราณในโรงเกลือที่ปิดมิดชิด
ภายในมีเตาขนาดใหญ่ขึ้นรูปจากดินเหนียวสำหรับวางกะทะใบเขื่อง
หรือกระทะแขวนตะกร้าไม้ไผ่สานใบเล็กๆ เพื่อใช้สำหรับบ่อเกลือ
ชาวบ้านที่บ้านบ่อหลวง ทำการต้มเกลือสินเธาว์มาตั้งแต่โบราณหลายร้อยปีมาแล้ว
จากหลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เมื่อหลายแสนปีก่อน บริเวณนี้เคยเป็นทะเล
การค้นพบบ่อเกลือ
สำหรับการค้นพบบ่อเกลือที่บ้านบ่อหลวง
มีการเล่าสืบต่อกันมาดังนี้ว่า แต่เดิมบริเวณพื้นที่เหล่านี้เป็นป่าดงพงไพร
ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่มีหนองน้ำที่พวกสัตว์ต่างๆ ชอบมากินน้ำในหนองน้ำแห่งนี้
และยังมีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์ และเห็นว่าพวกเหล่าสัตว์ทั้งหลายมากินน้ำที่นี่เป็นประจำ
เมื่อลองชิมดูจึงรู้ว่าเค็ม ข่าวล่วงรู้ไปถึงเจ้าหลวงภูคา และเจ้าหลวงบ่อ
จึงชวนกันมาดูน้ำเกลือ โดยทั้ง 2 พระองค์ขึ้นไปอยู่ที่บนยอดดอยภูจั๋น เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเดา(หอก)
เจ้าหลวงภูคาพุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของน้ำมาง ตรงที่ตั้งของหนอกในปัจจุบัน เจ้าหลวงบ่อ
พุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของน้ำมาง ข้ามน้ำมางตรงที่ตั้งของหอเจ้าพ่อหลวงในปัจจุบัน
ชาวบ้านที่ชมดูการพุ่งหอก ไปนำเอาหินมาก่อเป็นที่สังเกตแล้วตั้งเป็นโรงหอ
ทำพิธีเพื่อตอบแทนบุญคุณเจ้าทั้ง 2 พระองค์ ทุกปี ภายหลัง
ทั้ง 2 พระองค์คิดกันว่า จะนำคนที่ไหนมาอยู่ เมื่อปรึกษากันแล้วจึงไปนำคนที่อยู่เชียงแสน
ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงมาหักล้างถางพงและทำเกลืออยู่ที่นี่
ท่องเที่ยวบ่อเกลือ
สภาพภูมิประเทศโดยรอบของบ่อเกลือส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน
พื้นที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 40 บริเวณพื้นที่โดยทั่วไปสูง 730 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
จุดสูงสุด 1,648.066 เมตรจากระดับน้ำทะเลระดับปานกลาง
ที่ดอยดงหญ้าหวาย ในพื้นที่มีน้ำไหลตามช่องเขาทั่วไป มีพื้นที่ราบตามลำนำและหุบเขาแคบๆ
เพียงร้อยละ 1.5 ของพื้นที่ทั้งหมด เทือกเขาที่สำัคัญ ได้แก่
เทือกเขาภูคา ภูแว ภูผีปันน้ำ ภูฟ้า ลำน้ำที่สำคัญ คือ ลำน้ำมาง ลำน้ำว้า
และลำน้ำน่าน มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์บริเวณดอยภูคา
ซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด และยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่านอีกด้วย
สภาพภูมิอากาศ เนื่องจากภูมิประเทศอยู่ในร่องเขาและมีป่าไม้มาก
อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี โดยเฉพาะกลางคืนในฤดูหนาวจะหนาวจัด อุณหภูมิจะลดลงถึง 0 องศาเซลเซียส
พอสิ้นหนาวผ่านเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว
ก็จะย่างเข้าฤดูฝนและจะตกชุกไปถึงเดือนพฤศจิกายน จึงมีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300
มิลลิเมตร/ปี
• การเดินทาง
บ้านบ่อหลวง ตำบลบ่อเกลือใต้
อำเภอบ่อเกลือ เดินทางจาก อ.บ่อเกลือใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 ไปทาง อ.ปัว ประมาณ 200
เมตร จะพบโรงเรือนต้มบ่อเกลือเหนือ อยู่ขวามือ ตรงไปอีกประมาณ 100
ม. จะพบบ่อเกลือใต้อยู่ซ้ายมือ
มาถึงบ่อเกลือแล้วต้องลองหาซื้อเกลือสินเธาว์สีขาว ผสมไอโอดีนมาชิมก็ได้
โดยประมาณกลางเดือน ก.พ.(วันแรม 9 ค่ำ เดือน 5 เหนือ) จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาล "เจ้าพ่อบ่อหลวง"
โดยทุกปีจะเซ่นไหว้ด้วยหมู และทุกๆ 3 ปี จะเซ่นไหว้ด้วยควาย
หมุนเวียนกันไป
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน
ซึ่งมีทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ โดยเฉพาะ ยอดดอยภูคา มีเมฆปกคลุมตลอดฤดูฝนและฤดูหนาว
จึงมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ดอยภูคา เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่มีทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่าที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์
รวมทั้งเป็น แหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว ลำน้ำว้า
ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวจังหวัดน่าน และยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
กล่าวคือ เป็นที่เชื่อกันว่าเทือกเขาดอยภูคาเป็นเมืองเก่าของบรรพบุรุษ
ของคนเมืองน่านและในปัจจุบันนี้ก็ยังมีศาลเจ้าพ่อภูคา ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 31 ถนนสายปัง-บ่อเกลือ
อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดน่าน
จุดเด่นที่น่าสนใจของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
1ต้นชมพูภูคา
เป็นพรรณไม้ที่มีชนิดเดียวในโลก
ในประเทศไทยพบเพียงที่เดียวที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ต้นชมพูภูคา เป็นไม้ยืน
ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร
เปลือกเรียบ สีเทาอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
2.เต่าร้างยักษ์ (เต่าร้างน่านเจ้า)
เป็นไม้เฉพาะถิ่นของดอยภูคา
จัดเป็นประเภทปาล์มลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 40
เมตร ยังไม่มีรายงานว่าพบที่ใด ในโลก
3. ก่วมภูคา
เป็นพรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย
จัดเป็นไม้ผลัดใบ พืชวงศ์เดียวกับเมเปิ้ล ลำต้นสูงประมาณ 15 - 20 เมตร ใบอ่อนสีแดงเว้า 5 แฉก ใบแก่สีเขียว 3 แฉก นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้หายาก
อาทิ จำปีช้าง ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ
มะลิหลวง สาลี่หนุ่ม เหลือละมุน กุหลาบขาว เชียงดาว ฯลฯ
4. ถ้ำผาแดง, ถ้ำผาผึ้ง
เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยอันความสวยงามและยังมีลำธาร
น้ำตกภายในถ้ำด้วยเป็นถ้ำที่ยาวมากที่สุดใน อุทยานฯ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านมณีพฤกษ์
อ.ทุ่งช้าง (อ่านรายละเอียดในบ้านมณีพฤกษ์)
5. ถ้ำผาฆ้อง
เป็นถ้ำขนาดกลาง
ปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยอันสวยงามและลำธารไหลผ่านใน ช่วงฤดูฝน
ไม่สามารถเข้าไปเที่ยวได้เพราะภายในถ้ำอาจมีน้ำท่วม อยู่ระหว่างทางขึ้นอุทยานฯ
6. น้ำตกต้นตอง
เป็นน้ำตกหินปูน
ขนาดกลาง มี 3 ชั้น
สูงประมาณ 60 เมตร อยู่บริเวณใกล้ๆที่ทำการอุทยานฯ
7. น้ำตกวังเปียน
อยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่
8 (บ้านห้วยโกร๋น)
เขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
8.จุดชมวิวลานดูดาว
เป็นจุดกางเต้นท์พักแรมและชมทะเลหมอกยามเช้า
ซึ่งท่านสามารถชมวิวทิวทัศน์ของขุนเขา
9. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
บริเวณที่ทำการอุทยานฯ
มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ท่านได้เดินเที่ยวชมพันธุ์ไม้ บรรยากาศสวยครับ
10. ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง
ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
เป็นเส้นทางล่องแก่งน้ำว้าระดับ 3 - 5 ประมาณ 20 กว่าแก่ง ต้องใช้เวลากับการ พักแรม
กลางป่าระหว่างการล่องแก่งด้วย ซึ่งลำน้ำว้าเกิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานขุนน่าน
ไหลผ่านพื้นที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ผ่านอุทยานแห่งชาติแม่จริม
ก่อนที่จะไหลไปรวมกับแม่น้ำน่าน
11. ดอยภูแว
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ยอดดอยมีความสูง 1,837 เมตรจากระดับ
น้ำทะเล มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า ลานหิน หน้าผา และพันธุ์ไม้ที่สำคัญ อาทิ
ดอกกุหลาบพันปี ค้อ ทุ่งดอกไม้ เป็น สถานที่ ชมวิวทิวทัศน์และทะเลหมอกอันสวยงาม
การเดินทางสู่ดอยภูแวต้องเดินเท้าเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
มีลูกหาบไว้คอยบริการ
บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีบ้านพัก
ร้านอาหาร อำนวยความสะดวกต่อผู้มาเยี่ยมเยือนคือ
- บ้านภูคา1 ลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียว
4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พักได้จำนวน 7
คน
- บ้านภูคา2 ลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียว
3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พักได้จำนวน 6
คน
- บ้านภูคา3-7 ลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียว
4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ พักได้จำนวน 16-20
คน
- บ้านเกวียน พักได้จำนวน 2 คน ห้องน้ำรวม มีทั้งหมด 16 หลัง
- สถานที่กางเต็นท์ มีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ สถานที่กางเต็นท์ที่ 1-2 อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
สถานที่กางเต็นท์ที่ 3 อยู่บริเวณลานดูดาว
สถานที่กางเต็นท์ทั้ง 3 แห่งนี้มีห้องน้ำ
ห้องสุขาไว้บริการแก่ นักท่อง เที่ยวด้วยจองบ้านพักที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 ป่าไม้จังหวัดน่าน
โทร. 0 5471 0815หรือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
โทร. 0 1224 0789, 0 5470 1000 ตู้ปณ . 8 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th
สอบถามรายละเอียด
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ตู้ ปณ.8 ตำบลูคา อำเภอปัว
จังหวัดน่าน 55120 โทรศัพท์ 054-701 000
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
1.โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากจังหวัดน่านไปตามทางหลวงหมายเลข
1080 ถึงอำเภอปัวระยะทาง 60
กม. แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ)
ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ระยะประมาณ 25 กม.
รวมระยะทาง 85 กม. การเดิน
ทางไปบ้านมณีพฤกษ์จากจังหวัดน่านไปตามทางหลวง หมายเลข 1080 ผ่าน
อ.เชียงกลาง ระยะทางประมาณ 75 กม. แยกขวา
บ้านนาหนุนเข้าบ้านมณีพฤกษ์ ระยะประมาณ 40 กม. รวมระยะทาง 115
กม.
2.โดยรถยนต์ประจำทาง
จาก กรุงเทพฯ ถึง
อ.ปัว โดยรถปรับอากาศจากสถานนีขนส่งหมอชิตสายเหนือ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชม. จากปัวถึงอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
มีรถโดยสาร สายปัว-บ่อเกลือ เวลา 7.30 น., 9.30 น.,11.30 น. 14.00 น.
วัดภูมินทร์
ตั้งอยู่ที่บ้านภูมินทร์
อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ใกล้กับพิพิธภัณฑสถาน-แห่งชาติน่าน เดิมชื่อ
"วัดพรหมมินทร์" เป็นวัดที่แปลก กว่าวัดอื่น ๆ คือ
โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันประตูไม้ทั้งสี่ทิศแกะสลักลวดลาย
โดยช่างฝีมือล้านนาสวยงามมาก นอกจากนี้ฝาผนัง
แสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ ผ่านมาตาม พงศาวดารของเมืองน่าน
วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2139
โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครอง
เมืองน่านได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี
มีปรากฏในคัมภีร์เมือง เหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์"
ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหม มินทร์ผู้สร้างวัด
แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ ดังกล่าว
สิ่งที่น่าสนใจของวัดภูมินทร์
1.พระอุโบสถจตุรมุข
ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยก็คือ เป็นพระอุโบสถทรงจตุรมุข พระประธานจตุรพักตร์นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาค พระอุโบสถจตุรมุขนี้กรมศิลปกรได้สันนิษฐานว่า เป็นพระอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทยพระอุโบสถ ตรงใจกลาง ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักตร์ออก ด้านประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฏางค์ ชนกันประทับนั่งบนฐานชุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ผู้ที่ไปชมความงามของ พระอุโบสถนี้ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันไดทิศไหนก็จะพบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกด้าน
2. ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช
เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่
4) ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี
จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม”
ในวัดภูมินทร์เป็น ชาดกในพุทธศาสนา แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น
มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพเด่น ของ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน
ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิง แต่งกายไตลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของ
หนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์
3. สถูปเจดีย์พระมาลัยโปรดโลก
ภายในก็จะเป็นรูปปั้นจำลองนรกสำหรับคนที่ทำบาปว่าจะได้รับผลกรรมเช่นไร
เพื่อเป็นการย้ำเตือนใจ
น้ำตกสะปัน
เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนน่าน[1] อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
น้ำตกเกิดจากลำน้ำสะปัน เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 3 ชั้นใหญ่ ความสูงของน้ำตกชั้นที่ 1, 2, และ 3 สูงประมาณ 3, 5, 6, เมตร ตามลำดับมีน้ำไหลตกตลอดทั้งปี
เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ สภาพป่าไม้บริเวณน้ำตกมีความร่มรื่นร่มเย็น
สมบูรณ์สวยงามมาก
การเดินทาง
น้ำตกสะปันอยู่ห่างจากตัวอำเภอบ่อเกลือเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ไปตามถนนสายบ่อเกลือ - เฉลิมพระเกียรติ
บนทางหลวงหมายเลข 1081 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร และเดินโดยทางเท้าจากลานจอดรถไปยังตัวน้ำตกอีกประมาณ 100 เมตร