แนะนำตัว

ชื่อ นางสาว พิมผกา  กันทะ

รหัสนักศึกษา : 571790149

สำนักวิชาบัญชี

เสนอ 
เรื่อง สุดปลายฟ้าล้านนาตะวันออก จังหวัดน่าน


 GEN1102 วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน 

 Section AD

http://www.sawadee.co.th/thai/nan/images/04head-welcome-th.jpg

อาหารพื้นเมือง


http://www.dpt.go.th/adg/index.php?view=image&format=raw&type=img&id=454&option=com_joomgallery&Itemid=7

แกงส้มเมือง  เป็นแกงยอดนิยมที่มีให้ลิ้มลองเกือบทุกร้านในตัวเมืองน่าน นิยมแกงใส่ปลา อย่างปลาคัง เพราะเนื้อเยอะก้างน้อยกินง่าย เครื่องแกงประกอบด้วย ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด ขมิ้นสด พริกชีฟ้าแห้ง และกะปิโขลกรวมกัน นำเครื่องแกงใส่หม้อตั้งน้ำให้เดือดใส่ปลาลงไป พอเดือดใส่ส้มมะขามหรือมะนาวลงไปก็ได้ให้รสชาติเปรี้ยวนำจากนั้นจึงใส่ผักคูณ ผักบุ้งเมือง ผักกูด มะเขือเทศ และใบแมงลักลงไปต้มให้ผักพอสลดก็ยกเสิร์ฟได้

http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2006/04/D4264618/D4264618-57.jpg

แกงแคไก่ เป็นแกงผักรวมพื้นบ้านหลายๆ ชนิด ใส่เนื้อสัตว์ตามความชอบ แต่ที่นิยมคือแกงแคกบ ส่วนเครื่องแกงมีเพียงพริกขี้หนูแห้ง กระเทียม เกลือ กะปิโขลกรวมกัน แล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้ย่างไฟให้พอหอม จากนั้นนำมาคลุกเครื่องแกงแล้วคั่วให้หอมจึงค่อยเติมน้ำ พอน้ำเดือดใส่ผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ถ้ามีหวายก็ใส่หวายก่อน ตามด้วยมะเขือเปราะ มะเขือพวง ดอกแค ถั่วฝักยาว ชะอม ใบชะพลู ตำลึง ผักเผ็ด ใบพริก แค่นี้ก็ได้แกงแคแสนอร่อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีแกงขนุนซึ่งวิธีทำคล้ายแกงแค เพียงใส่กระดูกหมูและขนุนลงไป

http://www.bloggang.com/data/c/chim/picture/1334804010.jpg

ส้าบะเขือ นำมะเขือขื่นหรือมะเขือเปราะ ใบชะพลู ชะอม หัวปลี ล้างน้ำแล้วหั่นฝอยเตรียมไว้ จากนั้นเตรียมเครื่องปรุงมีตะไคร้ กระเทียม หอมแดง พริกแห้ง กะปิ โขลกรวมกันแล้วนำมาผัดกับหมูสับจนสุก จากนั้นนำเครื่องที่ผัดสุกแล้วมาขยำรวมกับผักที่เตรียมไว้ โรยหน้าด้วยแคปหมู ต้นหอมผักชี และโรยงาดำคั่วเพิ่มความหอม

http://sv5.postjung.com/imgcache/data/854/854296-img-1424146219-26.jpg

ห่อนึ่ง/ แอ๊บ ห่อนึ่งมีวิธีการทำคล้ายห่อหมกของภาคกลาง คือนำเครื่องปรุงมีตะไคร้ กระเทียม หอมแดง พริกแห้ง ขมิ้น เกลือ กะปิ โขลกพอหยาบ ใส่เนื้อ ต้นหอม ผักชี ใบมะกรูดซอย คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเทลงบนใบยอห่อด้วยใบตอง แต่ไม่นิยมใส่กะทิแล้วนำไปนึ่ง เช่น ห่อนึ่งไก่ ห่อนึ่งหน่อไม้ ส่วนการแอ๊บคล้ายการงบ (ปิ้ง เผา) ของภาคกลาง แต่ภาคเหนือไม่ใส่กะทิใช้เนื้อสับละเอียดคลุกกับพริกแกงชนิดเดียวกับห่อนึ่งคลุกกับเนื้อใส่เนื้อ ต้นหอม ผักชี ใบมะกรูดซอย แล้วห่อด้วยใบตองย่างไฟอ่อนๆ เช่น แอ๊บอ่องออ (มันสมองหมู) แอ๊บไก่ แอ๊บปลา

http://www.uncledeng.com/wp-content/uploads/2015/08/Pongza_Restaurant_06.jpg

ไก่มะแขว่น ถือเป็นเมนูยอดนิยมตามร้านอาหารใน จ. น่าน มะแข่นหรือมะแขว่น ทางภาคกลางเรียกลูกระมาศหรือหมากมาศ เป็นพืชสมุนไพรที่ขึ้นตามป่าดิบพบมากในภาคเหนือโดยเฉพาะ จ. น่าน คนเหนือนิยมนำเมล็ดแห้งของมะแข่นมาทำเป็นเครื่องเทศปรุงรสในอาหารพื้นบ้าน เช่น ใส่ในแกง ลาบ และหลู้ เนื่องจากมีกลิ่นหอมฉุนและมีรสเผ็ดร้อนคล้ายพริกไทย และเมนูยอดนิยมที่มาถึง จ. น่าน แล้วต้องไม่พลาด คือ ไก่มะแข่น ที่นำเมล็ดแห้งมาโขลกหยาบคลุกเคล้ากับน่องและปีกไก่ ใส่ซอสปรุงรสหมักให้เข้าเนื้อ แล้วนำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ จนไก่สุกเหลืองหอมน่ากิน
http://www.bloggang.com/data/poungchompoo/picture/1444274565.jpg

ไก คือสาหร่ายน้ำจืดที่ชอบขึ้นในน้ำใสสะอาดที่ไหลตลอดเวลา ต่างกับสาหร่ายอีกชนิดคือสาหร่ายเทาที่ชอบขึ้นอยู่ในน้ำนิ่ง ความต่างทำให้สาหร่ายไกไม่มีกลิ่นคาว ซึ่งไกในแม่น้ำน่านจะมีแค่ช่วง อ. บ่อเกลือ และ อ. ท่าวังผาเท่านั้น ส่วนด้านล่างในเขต อ. เมืองไม่มีแล้ว เพราะน้ำเริ่มสกปรก ช่วงปีหนึ่งจะเก็บไกได้เพียงช่วงเดือน พ.ย. - พ.ค. ดังนั้นคนน่านโดยเฉพาะชาวไทลื้อใน อ. ท่าวังผา นิยมเก็บไกมาทำเป็นอาหารพื้นบ้าน เช่น
>>> ห่อนึ่งไก นำไกสดๆ ที่เพิ่งเก็บมาล้างให้สะอาดแล้วสับละเอียดรอไว้ โขลกกระเทียม หอมแดง ตะไคร้ รากผักชี พริกชี้ฟ้าให้ละเอียด แล้วนำไกสับลงคลุกเคล้า ใส่น้ำใบย่านางคั้นสด เติมเกลือเล็กน้อยแล้วผสมให้เข้ากัน ตักใส่ใบตองสด ห่อแล้วนำไปนึ่งราว 30 นาที จะได้ห่อนึ่งไกหอมชวนกิน
>>>ไกยี นำไกสดมาล้างสะอาดแล้วตากแดดจัดๆ เพียง 1 วัน จะได้ไกแห้งสีเขียวสด จากนั้นนำมาคั่วให้กรอบแล้วยีหรือป่นให้ละเอียด ปรุงรสด้วยกระเทียมเจียว งาขาว เกลือ และน้ำตาลทรายเล็กน้อย

อ้างอิง http://travel.sanook.com/1391126/

ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี

ประเพณีตานก๋วยสลาก


http://f.ptcdn.info/420/023/000/1410697214-21-o.jpg

ประเพณีทานสลาก คือ การทำบุญสลากภัตในล้านนาไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น บางแห่งเรียกว่า "กิ๋นก๋วยสลาก" บางแห่งเรียก "กิ๋นสลาก" บางแห่ง "ตานก๋วยสลาก" ตามสำเนียงพูดของเมืองเหนือ ในความหมายเป็นอย่างเดียวกัน เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาถือสืบเนื่องมานมนานแล้ว การทานก๋วยสลากจะเริ่มในราวเดือน 12 เหนือน่าน (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11 ใต้ ) ในสมัยโบราณประเพณีการถวายสลากภัต จึงต้องจัดขึ้นที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารอันเป็นปฐมอารามในจังหวัดน่านก่อนเป็นวัดแรก แล้ววัดอื่นๆจึงจะจัดวายทานได้ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่ จะเริ่มทำที่วัดเชียงมั่น ในจังหวัดลำปาง จะเริ่มทำที่ วัดปงยากคก

ค่านิยมในการกินสลากของชาวล้านนา

http://123.242.165.136/photo_gallery/00177.JPG

การทำบุญสลาภัต นับเป็นประเพณีที่สำคัญของล้านนาไทยประการหนึ่ง เนื่องมาจากค่านิยมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จนกลายเป็นประเพณีสืบมาช้านาน คือ 
1. ประชาชนว่างจากภาระกิจทำนา
2. ผลไม้ส้ม เช่น ส้ม ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยงฯลฯ กำลังสุก
3. ประชาชนหยุดพัก ไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน
4. พระสงฆ์จำพรรษาอยู่อย่างพรักพร้อม
5. ได้โอกาสสงเคราะห์คนเป็นสังคหทาน
6. ถือว่ามีอานิสงส์แรง คนทำบุญสลากมันจะมีโชคลอยมา
7. มีโอกาสหาเงินและวัสดุบำรุงวัด


การทานสลากภัต "ตานก๋วยสลาก"
ประเพณีถวายสลากภัต หรือประเพณีถวายข้าวสลาก หรือ ตานก๋วยสลาก ของวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน จะมีขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ หรือ เดือน 10 ใต้ของทุกๆ ปี เป็นประเพณีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เจ้านครน่านเป็นผู้จัดนำ จะมีศรัทธาประชาชนในบ้านต่างๆ จัดทำสลากภัต และจัดขบวนแห่มาร่วมเป็นกลุ่มเป็นคณะ ชาวบ้านจะนำพืชผลมาถวายก๋วยสลาก นิมนต์พระสงฆ์แต่ละวัดในเขตอำเภอเมืองมารับไทยทานสลากภัต ปีหนึ่งๆ จะมีพระสงฆ์มารับไทยทานประมาณ 200-300 รูป ซึ่งศรัทธาประชาชนร่วมกันถวายสลากภัต สลากภัตนั้น มีหลายชนิด ทางภาคเหนือประกอบด้วย
1. สลากน้อย หรือ สลากซอง คือ สลากกระชุเล็ก (ก๋วยขี้ปุ๋ม เพราะมีลักษณะป๋องเหมือนขึ้ปุ๋ม หรือท้องนั่นเอง)
2. สลากใหญ่ หรือ สลากโชค หรือ สลากสร้อย บางทีเจ้าภาพทำเป็นรูปต่างๆ เช่น ต้นกัลปพฤกษ์ รูปบ้านเรือน รูปเรือ หงส์ เรือสำเภา ไทยทานจะมีครบทุกอย่าง

           สลากก๋วยเล็กใช้ถวายอุทิศแก่ ผู้ตายหรือทำบุญเพื่อเป็นกุศลในชาติหน้า ส่วนสลากใหญ่ใช้ถวายเป็นกุศลสำหรับผู้มีกำลังศรัทธาและร่ำรวยเงินทอง ทำถวายเพื่อเป็นนพลวะปัจจัย ให้มีบุญกุลมากยิ่งขึ้น

http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2010-09/292b73d79ad3bdcca6661615023ebd11.JPG



ประเพณีการแข่งเรือยาวของเมืองน่าน 


http://www.sadoodta.com/files/nan002.jpeg


ประเพณีการแข่งเรือยาวของเมืองน่าน  เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบเนื่องกันมาแต่โบราณกาล การจัดแข่งจะจัดกันเองในหน้าน้ำ ในเทศกาลตานก๋วยสลาก (สลากภัต)แต่ละวัดก็จะนำเรือของตนเข้าแข่งเพื่อเป็นการสมานสามัคคีกัน  เอกลักษณ์ของเรือเมืองน่าน ไม่เหมือนจังหวัดใดในประเทศไทยคือ เป็นเรือที่ขุดจากไม้ตะเคียนหรือตะเคียนทองทั้งต้น โดยเชื่อกันว่า มีความทนทานและผีนางไม้แรง ก่อนจะถึงเวลาแข่งเรือ เรือแข่งแต่ละลำจะแล่นเลาะขึ้นล่องอยู่กลางลำน้ำเพื่ออวดฝีพายและความสวยงามให้ประชาชนได้เห็นเสียก่อน ในเรือแข่งจะมีฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ ตีกันเป็นจังหวะดังไปทั่วท้องน้ำน่าน เป็นที่สนุกสนานและน่าดูยิ่งนัก สถานที่สำหรับทำการแข่งขันเรือ ก็ใช้ลำน้ำน่าน หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเป็นสนามแข่งขันปัจจุบัน การแข่งเรือเมืองน่าน ได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมบ่งบอกถึงประเพณีของท้องถิ่น ความสามัคคี ศิลปะ สุขภาพอนามัยของชาวบ้าน หากหมู่บ้านใด มีชาวบ้านร่างกายแข็งแรง เรือของหมู่บ้านนั้นก็มักจะชนะ หากหมู่บ้านใดมีผู้มีความคิดสร้างสรรค์ มีศิลปะ เรือของหมู่บ้านนั้นก็จะชนะประเภทสวยงามเช่นกัน การแข่งขันไม่ได้เน้นหนักในด้านการแพ้หรือชนะ แต่เน้นด้านความสนุกสนานและความสามัคคีเป็นหลัก  เมื่อมีการแข่งขันกันอย่าง กว้างขวางหลายสนามแข่งขันซึ่งประพฤติปฏิบัติเป็นประจำทุกปีมาโดยตลอด จึงทำให้พฤติกรรมเหล่านี้กลายมาเป็นประเพณีการแข่งขันเรือของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เพราะตราบจนกระทั่งวันนี้ คนเมืองน่านทุกคน นับแต่ลูกเด็กเล็กแดง จนกระทั่งหนุ่มสาว แก่ชรา ต่างก็ทราบกันดีแล้วว่า ในการแข่งเรือ ใครจะเป็นผู้แพ้หรือผู้ชนะไม่สำคัญ เพราะผู้ชนะที่แท้จริง ของงานนี้ก็คือ ชาวเมืองน่านนั่นเอง ที่สามารถสืบทอดงานประเพณีอันสวยงามและยิ่งใหญ่ของตนไว้ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=3735373


ประเพณีงานเทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่าน  

    
https://sites.google.com/a/srinan.ac.th/nan-n-sit/_/rsrc/1437074712418/prapheni/20110103012934.JPG

จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปี บางปีอาจจัดร่วมกับเทศกาลของดีเมืองน่าน ส้มสีทองเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน พันธุ์เดียวกับส้มเขียวหวาน แต่ส้มสีทองจะมีเปลือกสีเหลืองทองสวยงาม และรสชาติหวานหอมอร่อยกว่า เป็นเพราะอิทธิพลของดินฟ้าอากาศคือ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนต่างกัน ๘ องศา เป็นเหตุให้สาร “คาร์ทีนอยพิคเมนท์” ในเปลือกส้มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทองดังกล่าว กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง ได้แก่ การประกวดขบวนรถส้มสีทอง การออกร้านนิทรรศการ การจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมจากอำเภอต่าง ๆ และจากเมืองฮ่อน-หงสา สปป.ลาว การแสดงพื้นเมืองและมหรสพต่าง ๆ อีกมากมาย

ประเพณีจิบอกไฟ (จุดบ้องไฟ)  
                      การจุดบอกไฟ หรือ บ้องไฟ จะจุดเพื่อเป็นพุทธบูชาถวายกับพระธาตุ วัดที่สำคัญและช่วงเทศกาลปีใหม่เมือง และจุดเพื่อชิงรางวัลตามความสามารถของคนทำบอกไฟในการจุด
                     บอกไฟ หรือ บ้องไฟ เมืองน่านมีอยู่ 2 แบบคือจุดเพื่อความสวยงาม เรยกว่า บอกไฟดอกหรือบอกไฟขวี่ จุดเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น เพื่อแสงอันสวยงาม บอกไฟขึ้น จะจุดในที่โล่งแจ้ง ไม่เป็นอันตรายกับผู้ชม ก่อนจะนำไปจุดจะต้องแจ้งต่อคณะกรรมการเพื่อเอาลำดับที่จะจุดและมีชื่อเรียก ว่า “วาร” พร้อมมีขบวนแห่บอกไฟและคำฮ่ำบอกไฟและพรรณาถึงความเป็นเลิศของบอกไฟ ของคณะศรัทธาบ้านตัวเองและสล่า (ช่าง) ผู้เป็นคนทำบอกไฟ แต่ถ้าหากบอกไฟไม่ขึ้น เช่น เกิดแตกหรือไม่ยอมพุ่งขึ้น สล่าคนนั้นโดนทั้งผงหมิ่นหม้อ ผงถ่านสีดำก้นหม้อแกงหรือขี้เปอะ (โคลน) จากกลางทุ่งนาละเลงไปที่ใบหน้าเรียกว่า “ลุบหมิ่น”
http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/Travel_Am/BunbungFai/44.jpg

 ประเพณีดาปอยงานบวช   
http://www.montharnthamresort-ruknailuang.com/images/column_1361343406/1363317902montharnthamresort-ruknailuangcom1.jpg

ประเพณีดาปอยงานบวช  เมืองน่าน เป็นเมืองพุทธศาสนา ผู้คนมีความศรัทธาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาอย่างช้านานพร้อมส่งเสริมสนับสนุนถือเป็นธรรมเนียมว่าชายใด หรือกุลบุตรจะต้องได้บวชเรียนเพื่อซาบซึ้งรสพระธรรม และตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ต้องการบวชเรียนในบวรพระพุทธศาสนามักนิยมบวชกันเป็นละแวกหมู่บ้าน คือบวชวันเดียวกันทีละหลายๆ รูป เรียกว่า  "ดาปอย" คือจะทำกันที่วัดก็ได้หรือจะจัดเตรียมบ้านของใคร หรือผู้ที่อุมภัมภ์ในการบวชเรียน เรียกว่า "พ่อออก แม่ออก" งานบวชเมืองน่านมี 2 อย่างคือ 1.ลูกแก้ว คือ การบรรพชา ไม่นิยมทำกันอย่างเอิกเกริก ทำกันในเฉพาะญาติพี่น้อง เรียกว่า "ปอยหมก" กล่าวคือโกนหัวเข้าวัด   2.เป๊ก คือการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีการจัดเตรียมงานและผู้ที่จะบวชจะต้องท่องฝึกคำของบรรพชาอุปสมบทให้คล่องแคล่วชัดเจน ญาติพี่น้องต้องจัดเตรียมสิ่งของข้าวปลาอาหารไว้ต้อนรับแขกญาติมิตรก่อนที่จะมีงานบวช ญาติ ๆ หรือผู้คุ้นเคยจะนำพานใส่ผ้าไตร พร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปบอกญาติสนิทและเพื่อนบ้านให้รับรู้ ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า "การไปแผ่ผ้าหน้าบุญ" ถ้าหากผู้ที่ไปร่วมงานไม่ได้ไปในวันงานก็จะร่วมทำบุญไปด้วยกับการที่ไปแผ่ผ้าหน้าบุญแล้วอธิษฐานยกมือขึ้นไว้บนศีรษะคือการ "เจาะใส่หัว" ระเพณีดาปอยจะมีอยู่ด้วยกัน 2-3 วัน คือ วันแรกเรียกว่า "วันฮอมครัว" หรือ สีเทียน วันลองหม้อขนมปาด  พออีกวันก็คือ "วันห้างดา" มีการโกนผมนาค ญาติมิตรมาร่วมทำบุญพระนาคจะให้พรกับแขกหรือผู้มาร่วมงาน มีการเตรียมจัดของถวายพระ  การประดิษฐ์เครื่องบูชาพระพุทธ เช่น ต้นดอก ไทยาน งานปอยมีการเตรียมบายศรีสู่ขวัญนาคเพื่อขัดเกลาให้ผู้บวชทราบพระคุณบิดามารดาผู้ให้กำเนิดและสั่งสอนในการปฏิบัติวัตรของการเข้าไปเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา วันบวชหรือวันประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบท จะกำหนดเมื่อไหร่ก็ได้ คือ ตอนเช้าตรู่ หรือ เวลา 10.00น.ก็ได้ หรือเวลาบ่าย เย็นได้หมดแล้วแต่จะกำหนด โดยญาติมิตรอยู่ร่วมงานเพื่อแห่ลูกแก้วหรือแห่นาคเข้าวัดเพื่อประกอบพิธี



แหล่งท่องเที่ยว

บ่อเกลือสินเธาว์

http://www.tripdeedee.com/traveldata/nan/nan600/nan96.jpg
บ่อเกลือภูเขา
   บ่อเกลือ ตั้งอยู่ในอำเภอบ่อเกลือ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน เดิมเรียกว่า "เมืองบ่อ" ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีบ่อเกลือสินเธาว์ ที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเดิมมีอยู่ในจำนวน 7 บ่อ คือ บ่อหลวง บ่อหยวก บ่อเวร บ่อน่าน บ่อกิน บ่อแคะ และบ่อเจ้า 
   บ่อเกลือมีอยู่สองบ่อ คือ บ่อเกลือเหนือ และ บ่อเกลือใต้ โดยบ่อเกลือเหนือมีขนาดใหญ่ มีโรงต้มเกลืออยู่หลายโรง ส่วนบ่อเกลือใต้ มีโรงต้มเกลือน้อยกว่า ทั้งสองบ่อชาวบ้านยังใช้วิธีการต้มเกลือแบบโบราณในโรงเกลือที่ปิดมิดชิด ภายในมีเตาขนาดใหญ่ขึ้นรูปจากดินเหนียวสำหรับวางกะทะใบเขื่อง หรือกระทะแขวนตะกร้าไม้ไผ่สานใบเล็กๆ เพื่อใช้สำหรับบ่อเกลือ ชาวบ้านที่บ้านบ่อหลวง ทำการต้มเกลือสินเธาว์มาตั้งแต่โบราณหลายร้อยปีมาแล้ว จากหลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เมื่อหลายแสนปีก่อน บริเวณนี้เคยเป็นทะเล

http://f.ptcdn.info/503/019/000/1401335682-1036883450-o.jpg

การค้นพบบ่อเกลือ
   สำหรับการค้นพบบ่อเกลือที่บ้านบ่อหลวง มีการเล่าสืบต่อกันมาดังนี้ว่า แต่เดิมบริเวณพื้นที่เหล่านี้เป็นป่าดงพงไพร ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่มีหนองน้ำที่พวกสัตว์ต่างๆ ชอบมากินน้ำในหนองน้ำแห่งนี้ และยังมีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์ และเห็นว่าพวกเหล่าสัตว์ทั้งหลายมากินน้ำที่นี่เป็นประจำ เมื่อลองชิมดูจึงรู้ว่าเค็ม ข่าวล่วงรู้ไปถึงเจ้าหลวงภูคา และเจ้าหลวงบ่อ จึงชวนกันมาดูน้ำเกลือ โดยทั้ง 2 พระองค์ขึ้นไปอยู่ที่บนยอดดอยภูจั๋น เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเดา(หอก) เจ้าหลวงภูคาพุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของน้ำมาง ตรงที่ตั้งของหนอกในปัจจุบัน เจ้าหลวงบ่อ พุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของน้ำมาง ข้ามน้ำมางตรงที่ตั้งของหอเจ้าพ่อหลวงในปัจจุบัน ชาวบ้านที่ชมดูการพุ่งหอก ไปนำเอาหินมาก่อเป็นที่สังเกตแล้วตั้งเป็นโรงหอ ทำพิธีเพื่อตอบแทนบุญคุณเจ้าทั้ง 2 พระองค์ ทุกปี ภายหลัง ทั้ง 2 พระองค์คิดกันว่า จะนำคนที่ไหนมาอยู่ เมื่อปรึกษากันแล้วจึงไปนำคนที่อยู่เชียงแสน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงมาหักล้างถางพงและทำเกลืออยู่ที่นี่

http://www.paiduaykan.com/76_province/north/nan/pic/boklua4.jpg

ท่องเที่ยวบ่อเกลือ
   สภาพภูมิประเทศโดยรอบของบ่อเกลือส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 40 บริเวณพื้นที่โดยทั่วไปสูง 730 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
จุดสูงสุด 1,648.066 เมตรจากระดับน้ำทะเลระดับปานกลาง ที่ดอยดงหญ้าหวาย ในพื้นที่มีน้ำไหลตามช่องเขาทั่วไป มีพื้นที่ราบตามลำนำและหุบเขาแคบๆ เพียงร้อยละ 1.5 ของพื้นที่ทั้งหมด เทือกเขาที่สำัคัญ ได้แก่ เทือกเขาภูคา ภูแว ภูผีปันน้ำ ภูฟ้า ลำน้ำที่สำคัญ คือ ลำน้ำมาง ลำน้ำว้า และลำน้ำน่าน มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์บริเวณดอยภูคา ซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด และยังเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่านอีกด้วย
   
สภาพภูมิอากาศ เนื่องจากภูมิประเทศอยู่ในร่องเขาและมีป่าไม้มาก อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี โดยเฉพาะกลางคืนในฤดูหนาวจะหนาวจัด อุณหภูมิจะลดลงถึง 0 องศาเซลเซียส พอสิ้นหนาวผ่านเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว ก็จะย่างเข้าฤดูฝนและจะตกชุกไปถึงเดือนพฤศจิกายน จึงมีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตร/ปี
 
การเดินทาง
   บ้านบ่อหลวง ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ เดินทางจาก อ.บ่อเกลือใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 ไปทาง อ.ปัว ประมาณ 200 เมตร จะพบโรงเรือนต้มบ่อเกลือเหนือ อยู่ขวามือ ตรงไปอีกประมาณ 100 ม. จะพบบ่อเกลือใต้อยู่ซ้ายมือ 
   มาถึงบ่อเกลือแล้วต้องลองหาซื้อเกลือสินเธาว์สีขาว ผสมไอโอดีนมาชิมก็ได้ โดยประมาณกลางเดือน ก.พ.(วันแรม 9 ค่ำ เดือน 5 เหนือ) จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาล "เจ้าพ่อบ่อหลวง" โดยทุกปีจะเซ่นไหว้ด้วยหมู และทุกๆ 3 ปี จะเซ่นไหว้ด้วยควาย หมุนเวียนกันไป 






อุทยานแห่งชาติดอยภูคา 


http://variety.teenee.com/foodforbrain/img8/125294.jpg


อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งมีทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ โดยเฉพาะ ยอดดอยภูคา มีเมฆปกคลุมตลอดฤดูฝนและฤดูหนาว จึงมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ดอยภูคา เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่มีทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่าที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ รวมทั้งเป็น แหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว ลำน้ำว้า ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวจังหวัดน่าน และยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เป็นที่เชื่อกันว่าเทือกเขาดอยภูคาเป็นเมืองเก่าของบรรพบุรุษ ของคนเมืองน่านและในปัจจุบันนี้ก็ยังมีศาลเจ้าพ่อภูคา ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 31 ถนนสายปัง-บ่อเกลือ อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดน่าน


จุดเด่นที่น่าสนใจของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
https://sogood11245.files.wordpress.com/2013/09/na30-074.jpg

1ต้นชมพูภูคา
เป็นพรรณไม้ที่มีชนิดเดียวในโลก ในประเทศไทยพบเพียงที่เดียวที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ต้นชมพูภูคา เป็นไม้ยืน ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร เปลือกเรียบ สีเทาอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
2.เต่าร้างยักษ์ (เต่าร้างน่านเจ้า)
เป็นไม้เฉพาะถิ่นของดอยภูคา จัดเป็นประเภทปาล์มลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 40 เมตร ยังไม่มีรายงานว่าพบที่ใด ในโลก 
3. ก่วมภูคา
 
เป็นพรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย จัดเป็นไม้ผลัดใบ พืชวงศ์เดียวกับเมเปิ้ล ลำต้นสูงประมาณ 15 - 20 เมตร ใบอ่อนสีแดงเว้า 5 แฉก ใบแก่สีเขียว 3 แฉก นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้หายาก อาทิ จำปีช้าง ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาลี่หนุ่ม เหลือละมุน กุหลาบขาว เชียงดาว ฯลฯ
4. ถ้ำผาแดง, ถ้ำผาผึ้ง
เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยอันความสวยงามและยังมีลำธาร น้ำตกภายในถ้ำด้วยเป็นถ้ำที่ยาวมากที่สุดใน อุทยานฯ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง (อ่านรายละเอียดในบ้านมณีพฤกษ์)
5. ถ้ำผาฆ้อง
เป็นถ้ำขนาดกลาง ปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยอันสวยงามและลำธารไหลผ่านใน ช่วงฤดูฝน ไม่สามารถเข้าไปเที่ยวได้เพราะภายในถ้ำอาจมีน้ำท่วม อยู่ระหว่างทางขึ้นอุทยานฯ
6. น้ำตกต้นตอง
เป็นน้ำตกหินปูน ขนาดกลาง มี 3 ชั้น สูงประมาณ 60 เมตร อยู่บริเวณใกล้ๆที่ทำการอุทยานฯ
7. น้ำตกวังเปียน
อยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่ 8 (บ้านห้วยโกร๋น) เขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ 
8.จุดชมวิวลานดูดาว
เป็นจุดกางเต้นท์พักแรมและชมทะเลหมอกยามเช้า ซึ่งท่านสามารถชมวิวทิวทัศน์ของขุนเขา
9. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ 
บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ท่านได้เดินเที่ยวชมพันธุ์ไม้ บรรยากาศสวยครับ 
10. ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง 
ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเส้นทางล่องแก่งน้ำว้าระดับ 3 - 5 ประมาณ 20 กว่าแก่ง ต้องใช้เวลากับการ พักแรม กลางป่าระหว่างการล่องแก่งด้วย ซึ่งลำน้ำว้าเกิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานขุนน่าน ไหลผ่านพื้นที่ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ผ่านอุทยานแห่งชาติแม่จริม ก่อนที่จะไหลไปรวมกับแม่น้ำน่าน
11. ดอยภูแว 
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ยอดดอยมีความสูง 1,837 เมตรจากระดับ น้ำทะเล มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า ลานหิน หน้าผา และพันธุ์ไม้ที่สำคัญ อาทิ ดอกกุหลาบพันปี ค้อ ทุ่งดอกไม้ เป็น สถานที่ ชมวิวทิวทัศน์และทะเลหมอกอันสวยงาม การเดินทางสู่ดอยภูแวต้องเดินเท้าเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร มีลูกหาบไว้คอยบริการ
http://f.ptcdn.info/947/001/000/1360094969-P1042919re-o.jpg

บ้านพักและสิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีบ้านพัก ร้านอาหาร อำนวยความสะดวกต่อผู้มาเยี่ยมเยือนคือ
- บ้านภูคา1 ลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียว 4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พักได้จำนวน 7 คน 
- บ้านภูคา2 ลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียว 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ พักได้จำนวน 6 คน 
- บ้านภูคา3-7 ลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียว 4 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ พักได้จำนวน 16-20 คน 
- บ้านเกวียน พักได้จำนวน 2 คน ห้องน้ำรวม มีทั้งหมด 16 หลัง 
- สถานที่กางเต็นท์ มีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ สถานที่กางเต็นท์ที่ 1-2 อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สถานที่กางเต็นท์ที่ 3 อยู่บริเวณลานดูดาว สถานที่กางเต็นท์ทั้ง 3 แห่งนี้มีห้องน้ำ ห้องสุขาไว้บริการแก่ นักท่อง เที่ยวด้วยจองบ้านพักที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 ป่าไม้จังหวัดน่าน
โทร. 0 5471 0815หรือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โทร. 0 1224 0789, 0 5470 1000 ตู้ปณ . 8 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th
สอบถามรายละเอียด

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ตู้ ปณ.8 ตำบลูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120 โทรศัพท์ 054-701 000 

http://www.bloggang.com/data/noiwan-wannoi/picture/1271149041.jpg


การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
1.โดยรถยนต์ส่วนตัว 
จากจังหวัดน่านไปตามทางหลวงหมายเลข 1080 ถึงอำเภอปัวระยะทาง 60 กม. แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ระยะประมาณ 25 กม. รวมระยะทาง 85 กม. การเดิน ทางไปบ้านมณีพฤกษ์จากจังหวัดน่านไปตามทางหลวง หมายเลข 1080 ผ่าน อ.เชียงกลาง ระยะทางประมาณ 75 กม. แยกขวา บ้านนาหนุนเข้าบ้านมณีพฤกษ์ ระยะประมาณ 40 กม. รวมระยะทาง 115 กม. 

2.โดยรถยนต์ประจำทาง 
จาก กรุงเทพฯ ถึง อ.ปัว โดยรถปรับอากาศจากสถานนีขนส่งหมอชิตสายเหนือ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11 ชม. จากปัวถึงอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีรถโดยสาร สายปัว-บ่อเกลือ เวลา 7.30 น., 9.30 น.,11.30 น. 14.00 น.




วัดภูมินทร์


ตั้งอยู่ที่บ้านภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ใกล้กับพิพิธภัณฑสถาน-แห่งชาติน่าน เดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์" เป็นวัดที่แปลก กว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกันประตูไม้ทั้งสี่ทิศแกะสลักลวดลาย โดยช่างฝีมือล้านนาสวยงามมาก นอกจากนี้ฝาผนัง แสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ ผ่านมาตาม พงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครอง เมืองน่านได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมือง เหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์" ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหม มินทร์ผู้สร้างวัด แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ ดังกล่าว


สิ่งที่น่าสนใจของวัดภูมินทร์


1.พระอุโบสถจตุรมุข

ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยก็คือ เป็นพระอุโบสถทรงจตุรมุข พระประธานจตุรพักตร์นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาค พระอุโบสถจตุรมุขนี้กรมศิลปกรได้สันนิษฐานว่า เป็นพระอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทยพระอุโบสถ ตรงใจกลาง ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ องค์ หันพระพักตร์ออก ด้านประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฏางค์ ชนกันประทับนั่งบนฐานชุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ผู้ที่ไปชมความงามของ พระอุโบสถนี้ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันไดทิศไหนก็จะพบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกด้าน


2. ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็น ชาดกในพุทธศาสนา แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพเด่น ของ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิง แต่งกายไตลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของ หนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์


3. สถูปเจดีย์พระมาลัยโปรดโลก













ภายในก็จะเป็นรูปปั้นจำลองนรกสำหรับคนที่ทำบาปว่าจะได้รับผลกรรมเช่นไร เพื่อเป็นการย้ำเตือนใจ



อ้างอิง http://www.paiduaykan.com/76_province/north/nan/watpumin.html


น้ำตกสะปัน
http://upic.me/i/eh/vb002.jpg



น้ำตกสะปัน เป็นน้ำตกที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนน่าน[1] อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน น้ำตกเกิดจากลำน้ำสะปัน เป็นน้ำตกขนาดกลาง มี 3 ชั้นใหญ่ ความสูงของน้ำตกชั้นที่ 1, 2, และ 3 สูงประมาณ 3, 5, 6, เมตร ตามลำดับมีน้ำไหลตกตลอดทั้งปี เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ สภาพป่าไม้บริเวณน้ำตกมีความร่มรื่นร่มเย็น สมบูรณ์สวยงามมาก

การเดินทาง
น้ำตกสะปันอยู่ห่างจากตัวอำเภอบ่อเกลือเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ไปตามถนนสายบ่อเกลือ - เฉลิมพระเกียรติ บนทางหลวงหมายเลข 1081 เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร และเดินโดยทางเท้าจากลานจอดรถไปยังตัวน้ำตกอีกประมาณ 100 เมตร